วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเขียนผังงาน
เนื้อหา
• การเขียนผังงาน ( Flowchart )
• ผังงานกับชีวิตประจำวัน
• โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection )
• โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ

การเขียนผังงาน ( Flowchart )ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการประโยชน์ของผังงาน• ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
• ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
• ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการเขียนผังงานที่ดี• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
• ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
• คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย
• ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
• ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
• ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม
ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล
ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร
แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายใน เครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา
แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน
การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า

รูปที่1 แสดง สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานโปรแกรม

ผังงานกับชีวิตประจำวันการทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป ดัง ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย


รูปที่ 2 แสดงการเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย
ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
• แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน


รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา

โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection )เป็นโครงสร้างที่ใช้การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ IF - THEN - ELSE และ IF - THEN




รูปที่4 แสดงโครงสร้างผังงานแบบมีการเลือก
โครงสร้างแบบ IF - THEN - ELSE เป็นโครงสร้างที่จะทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ใส่ไว้ในส่วนหลังคำว่า IF และเมื่อได้ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก็จะเลือกว่าจะทำงานต่อในส่วนใด กล่าวคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ( TRUE ) ก็จะเลือกไปทำงานต่อที่ส่วนที่อยู่หลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ( FALSE ) ก็จะไปทำงานต่อในส่วนที่อยู่หลังคำว่า ELSE
แต่ถ้าสำหรับโครงสร้างแบบ IF - THEN เป็นโครงสร้างที่ไม่มีการใช้ ELSE ดังนั้น ถ้ามีการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่อยู่หลัง IF มีค่าเป็นจริง ก็จะไปทำส่วนที่อยู่หลัง Then แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก IF - THEN แทน
ตัวอย่าง 3 การเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A และ B แล้วทำการเปรียบเทียบในตัวแปรทั้งสอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• ถ้า A มากกว่า B ให้คำนวณหาค่า A - B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT
• ถ้า A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B ให้คำนวณหาค่า A + B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT


รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูล
ตัวอย่าง 4 การเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปร X โดยมีเงื่อนไขดังนี้• ถ้า X > 0 ให้พิมพ์คำว่า " POSITIVE NUMBER "
• ถ้า X < 0 ให้พิมพ์คำว่า " NEGATIVE NUMBER "
• ถ้า X = 0 ให้พิมพ์คำว่า " ZERO NUMBER "


รูปที่ 4 แสดงการเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูล

โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำเป็นโครงสร้างที่มีการประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำหลายครั้ง ตามลักษณะเงื่อนไขที่กำหนด อาจเรียก การทำงานซ้ำแบบนี้ได้อีกแบบว่า การวนลูป ( Looping ) โครงสร้างแบบการทำงานซ้ำนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
• DO WHILE
• DO UNTIL
DO WHILEเป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน


แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO WHILE
DO UNTILเป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน


แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO UNTIL
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง DO WHILE และ DO UNTIL มีดังนี้1. DO WHILE ในการทำงานครั้งแรกจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเข้ลูปการทำงาน
2. DO UNTIL การทำงานครั้งแรกจะยังไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไข แต่จะเข้าไปทำงานในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้งแล้วจึงจะไปตรวจสอบเงื่อนไข
3. DO WHILE จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นจริง แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปทันที
4. DO UNTIL จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นเท็จ แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นจริง ก็จะออกจากลูปทันที
ตัวอย่าง 5 จงเขียนผังงานแสดงการเพิ่มของข้อมูลตัวเลขที่เก็บอย่ในหน่วยความจำที่แอดเดรส 1 โดยที่ค่าเริ่มต้นจาก 0 ให้ทำการเพิ่มค่าทีละ 1 เรื่อยไปจนกระทั่ง J มีค่าข้อมูลมากกว่า 100 จึงหยุดการทำงาน

ตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างการทำงานแบบทำซ้ำ ซึ่งจะสามารถแสดงการเขียนได้ทั้งแบบ DO WHILE และ DO UNTIL ดังนี้



วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บัญญัติ  10 ประการ

1.ต้องไม่ไช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย  หรือละเมิดผู้อื่น เช่น  ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุกคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย  ไม่เผยแพร่รูปลามกอนาจาร เป็นต้น
2.ต้องไม่ไช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช้่น การเล่นเกมส์หรือเปิดเพลงด้วย คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นหรือผุู้ที่อยู่ไกล้เคียง
3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่ิอนได้รับอนุญาติ
4.ต้องไม่ไช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ไช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่ไช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาติ
7 .ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตัวเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบยบ กติกา และมีมารยาทของหน้่วยงาน สถาบัน หรือสังคมนั้นๆ

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์และการเลือกใช้


                                                              ซอฟแวร์


         ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

                                                                                   การเลือกใช้


  • 1. การเลือกใช้ ซอฟต์ แวร์
  • 2. ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มกราฟิกและมัลติมเีดีย กลุ่มใช้ งานในบ้าน/ส่วนบุคคล/การศึกษา (business) (graphics and multimedia) (home/personal/educational)• ซอฟต์แวร์ประมวลคา • ซอฟต์แวร์ ช่วยในการ • ชุดซอฟต์แวร์ สาเร็จ• ซอฟต์แวร์ ตารางทางาน ออกแบบ • ซอฟต์แวร์จดพิมพ์ ั•  ซอฟต์แวร์ ตกแต่งภาพ ฐานข้อมูล • ซอฟต์แวร์ ตกแต่งภาพ •  ซอฟต์แวร์จดการเอกสาร ั บันเทิง
  • 3. ซอฟต์ แวร์ ประยุกต์ กลุ่มติดต่ อสื่ อสาร (communication)• เว็บเบราว์เซอร์• อีเมล• การส่ งสารทันที• แชท• ประชุมทางวีดิทศน์ ั• การถ่ายโอนไฟล์• สนทนาบนอินเทอร์เน็ต• กระดานสนทนา
  • 4. ซอฟต์ แวร์ กลุ่มธุรกิจ ช่วยเพิ่มประสิ ทธิภาพการทางานของบุคลากรในองค์กร อาจเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กบการทางานด้านธุรกิจของบริ ษทโดยเฉพาะ เช่น ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบจัดจาหน่าย ซอฟต์แวร์ดาน ้บริ หารการเงิน ซอฟต์ แวร์ ตัวอย่างโปรแกรมประมวลคา Microsoft Word, OpenOffice.org/Writeตารางคานวณ Microsoft Excel, OpenOffice.org/Calcจัดการฐานข้อมูล Microsoft Access, Oracle, MySQL, OpenOffice.org/Baseนาเสนอ Microsoft PowerPoint, OpenOffice.org/Impress
  • 5. ซอฟต์ แวร์ กลุ่มกราฟิ กและมัลติมเี ดีย ซอฟต์แวร์ จดการด้านกราฟิ กเป็นซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการสร้างภาพ ตกแต่งภาพ เช่น ปรับความเข้มแสง ความแตกต่างของสี วัตถุ ในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพ มาสร้างเป็ นภาพใหม่ นอกจากนี้ยงสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ัลักษณะของสี ให้มีพ้ืนสี แบบต่าง ๆ รวมถึงซอฟต์แวร์จดพิมพ์ที่ใช้ ัในการสร้างเอกสารสิ่ งพิมพ์เป็ นโปรแกรมที่สามารถจะออกแบบและพิมพ์ออกมาเป็ นแผ่นพับ คู่มือการใช้งาน และหนังสื อให้มีรู ปภาพและสี ในแต่ละหน้าอย่างสวยงาม
  • 6. ซอฟต์ แวร์ กลุ่มกราฟิ กและมัลติมเี ดีย ซอฟต์แวร์ดานสื่ อประสมหรื อมัลติมีเดีย เป็ นซอฟต์แวร์ ที่ใช้ ้สาหรับนาเสนอข้อมูลที่มีท้ งข้อความ เสี ยงพูด เสี ยงดนตรี ัภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดิทศน์ และกราฟิ ก มาสัมพันธ์หรื อทางาน ัร่ วมกัน ซึ่ งแต่ละชนิดมีคุณค่าส่ งเสริ มซึ่ งกันและกัน เป็ นการประสานความสัมพันธ์ของสื่ อที่ใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
  • 7. ซอฟต์ แวร์ กลุ่มกราฟิ กและมัลติมเี ดีย ซอฟต์ แวร์ ตัวอย่ างโปรแกรมช่วยในการออกแบบ Autodesk AutoCAD, Microsoft Visio Professionalจัดพิมพ์ Adobe InDesign, Adobe PageMaker, Corel VENTURAตกแต่งภาพ Adobe Illusstrator, Adobe Photoshop, CorelDRAWตัดต่อวีดิทศน์และเสี ยง ั Adobe Premiere, Windows Movie Makerสร้างสื่ อมัลติมีเดีย Adobe Authorware, Adobe Captivate, CamStudioสร้างเว็บเพจ Adobe Dreamweaver, Microsoft FrontPageสร้างภาพเคลื่อนไหว Adobe Flash, SwishMAX
  • 8. ซอฟต์ แวร์ กลุ่มใช้ งานในบ้ าน/ส่ วนบุคคล/การศึกษา มีราคาไม่แพง หรื อเป็ นโปรแกรมใช้งานฟรี ซอฟต์ แวร์ ตัวอย่ างโปรแกรมสานักงาน Microsoft Office, OpenOffice.org/Writeจัดพิมพ์ Microsoft Publisherตกแต่งภาพ CorelDraw, GIMPตกแต่งภาพถ่ายและ Adobe Photoshop, Flickr, Picasa, Windows Live Photoจัดการภาพถ่าย Galleryจัดการคลังภาพ CoolArchive, ClickArtช่วยเหลือด้านท่องเที่ยว Google Earth, Google Mapsสารานุกรม Microsoft Encarta
  • 9. ซอฟต์แวร์ กลุ่มติดต่อสื่อสาร ช่วยในการค้นหาข้อมูล ช่วยติดต่อสื่อสารทั้งการส่ งข้อความ หรือการติดต่อด้วยเสียง ซอฟต์แวร์ ตัวอย่ างโปรแกรมจัดการอีเมล Microsoft Outlook, Outlook Express, Mozilla Thunderbirdท่องเว็บ Microsoft Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chromeประชุมทางไกล Microsoft Netmeetingถ่ายโอนไฟล์ Cute_FTP, WS_FTP, FileZilla, WinSCPส่ งข้อความด่วน MSN Messenger, ICQสนทนา PIRCH, MIRCv